ที่ประชุมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 จำนวนทั้งสิ้น 12 ฉบับ เตรียมประกาศใช้ 8 ฉบับ อีก 4 ฉบับเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
สำหรับในส่วนกฎหมายลำดับรองประกอบ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ที่เมื่อผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แล้วสามารถประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ต่อไป แต่มีระเบีบบ/ประกาศ 2 ฉบับที่กระทบต่อประมงพื้นบ้านกว่า 5 หมื่นลำ
1.ร่างระเบียบฯ ว่าด้วยการเก็บหาหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาล ในเขตพื้นที่โครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
2.ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชว่าด้วยการเก็บหารือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ตามฤดูกาลในเขตพื้นที่โครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีความคืบหน้าตามลำดับ
ด้านนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เผยว่า ตกใจ เมื่อทราบข่าว ในเรื่องการจับสัตว์น้ำในเขตอุทยาน มีความผิด จะต้องขออนุญาตก่อน เป็นรายวัน ก่อนจับก็ต้องขออนุญาต ทางสมาคมยังไม่เห็นร่างเลยได้ข่าวว่ากำลังเสนอ ครม. ก็รู้สึก งง ไม่เข้าใจ และตอนนี้ก็ไม่เห็นร่างกฎหมายลำดับรองที่ออกไปเลย ข่าวนี้รู้สึกหนักว่า แรงงานทำงานบนเรือประมงพื้นบ้านเสียอีก ที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญา C188
“เรื่องดังกล่าวนี้ทางสมาคมจะต้องมีประชุมด่วนในเรื่องดังกล่าวนี้ กรมอุทยานฯ ไม่เคยนั่งหารือ หรือประชุมร่วมกันเลย เป็นเรื่องที่ทุกคนช็อกกันหมดแล้วพี่น้อง โดยเฉพาะพี่น้องฝั่งอันดามันตายกันหมด เป็นพื้นที่ทำประมงในเขตอุทยาน อาทิ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นต้น ปัจจุบันมีเรือประมงพื้นบ้าน กว่า 5 หมื่นลำ ก็ต้องแวะเข้าไปทำประมงในเขตพื้นที่อุทยานยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่เข้าพื้นที่ดังกล่าว” ความจริงก่อนที่จะออกกฎหมายใดใด น่าที่จะถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียก่อน พอมีกฎหมายออกมาอย่างนี้ รู้สึกช็อก ที่สำคัญเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว
นอกจากนี้ยังกล่าว่า “กฎหมายประมงก็มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืนของท้องทะเลแต่วิธีการที่จะทำให้ทะเลไทยมีความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืน หมายถึงมีความหลากหลายทางชีวภาพทรัพยากร อุดมสมบูรณ์เพราะปลาไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นเขตอุทยาน หรือว่าไม่ใช่เขตอุทยาน เป้าหมายเดียวกันแต่วิธีการบริหารจัดการแตกต่างกัน กฎหมายประมงมีความก้าวหน้า เป็นมาตรการกำกับที่ดูแลเป็นสากล และไม่สร้างอุปสรรคจนเกินควร ใช้หลักวิชาการในกำกำกับทรัพยากร